หน่วยที่ 6

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 นวัตกรรมการเรียนการสอน
การสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)

ศูนย์การเรียน (Learning Center) เป็นการเรียนรู้จากการประกอบกิจกรรมของนักเรียนโดยแบ่งบทเรียนออกเป็น 4 – 6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีสื่อการเรียนที่จัดไว้ในซองหรือในกล่องวางบนโต๊ะเป็นศูนย์กิจกรรม และแบ่งผู้เรียนตามศูนย์กิจกรรม กลุ่มละ 4 – 6 คน หมุนเวียนกันประกอบกิจกรรมตามศูนย์ต่าง ๆ แห่งละ 15 – 20 นาที จนครบทุกศูนย์ โดยใช้สื่อประสม (Multi Media) และกระบวนการกลุ่ม
ศูนย์การเรียน (Learning Center) เป็นกระบวนการเรียนที่บูรณาการระหว่างการใช้สื่อประสมกับกระบวนการกลุ่ม เน้นกิจกรรมเพื่อสร้างสถานการณ์ให้เกิดการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์การเรียนเอง ผู้เรียนประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด โดยอาศัยสื่อการสอนแบบประสมและหลักการของกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์เข้าช่วยในการเรียนการสอน อีกทั้งยังเป็นการเรียนตามเอกัตภาพอีกด้วยส่วนประกอบของศูนย์การเรียน คู่มือครู แบบฝึกหัดปฏิบัติสำหรับผู้เรียน สื่อสำหรับศูนย์กิจกรรม แบบทดสอบสำหรับการประเมินผล 

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียน
1. การทดสอบก่อนเรียน
2. การนำเข้าสู่บทเรียน
3. การประกอบกิจกรรมการเรียน แบ่งผู้เรียน กลุ่มละ 4 – 6 คน เรียกว่าศูนย์กิจกรรม
4. แต่ละศูนย์ประกอบกิจกรรมแตกต่างกันออกไปตามที่กำหนดไว้ในชุดการสอน
5. แต่ละศูนย์กิจกรรมกำหนดเวลาให้ใช้ประมาณ 15-20 นาที
6. เมื่อนักเรียนทุกศูนย์ประกอบกิจกรรมเสร็จแล้วจะมีการเปลี่ยนศูนย์กิจกรรม จนกระทั่งครบทุกศูนย์จึงจะถือว่าเรียนเนื้อหาในแต่ละหน่วยครบตามกำหนด
7. ครูทำหน้าที่ประสานงานการสอน คอยดูแลและกระตุ้นการเรียนการสอนนักเรียนแต่ละคน

ผลที่ได้รับ
การใช้วิธีสอนแบบศูนย์การเรียนนอกจากจะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าวิธีปกติแล้ว ยังทำให้เกิดผลต่อการพัฒนากระบวนการกลุ่มด้วย (กรมวิชาการ. 2533 : 80)


วิธีสอนโดยใช้ศูนย์การเรียน (Learning Center)




วิธีสอนโดยใช้ศูนย์การเรียน  (Learning Center)

ในปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนมีหลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการส่วนใหญ่ก็จะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด  การสอนโดยการใช้ศูนย์การเรียนเป็นเทคนิคการสอนที่เน้นการเรียนเป็นกลุ่มย่อย ให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนร่วมกัน ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ศูนย์การเรียนแต่ละศูนย์ก็จะมีเนื้อหาและบทเรียนที่แตกต่างกันไป  โดยจะมีการแบ่งกลุ่มเพื่อปฏิบัติกิจกรรมของแต่ละศูนย์การเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนโดยทั่วถึง ทำให้ผู้มีโอกาสหาคำตอบโดยตนเองและสามารถร่วมงานกับเพื่อนๆ ได้ โดยทั่วไปแล้วเมื่อมีการแบ่งกลุ่มผู้เรียนแล้วจะมีการตั้งประธานกลุ่มและเลขานุการประจำกลุ่มไว้สำหรับประสานงานและติดต่อกันระหว่างผู้เรียนกับสมาชิกในกลุ่ม

           เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีสอนโดยใช้ศูนย์การเรียนมากยิ่งขึ้น ในบทนี้กล่าวถึงความหมาย  จุดมุ่งหมาย  องค์ประกอบของการเรียนการสอน ลักษณะสำคัญของการเรียนการสอน ขั้นตอนการเรียนการเรียนการสอน และข้อดีและข้อจำกัดของการสอนโดยใช้ศูนย์การเรียน พร้อมด้วยสรุปท้ายบทและกิจกรรมและคำถามท้ายบทด้วย


การสอนแบบศูนย์การเรียน

การสอนแบบศูนย์การเรียน หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่แบ่งให้นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่มย่อย โดยเน้นกิจกรรมการเรียนสื่อการเรียนการสอนที่เป็นชุดการสอน  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ โดยแต่ละกลุ่มจะต้องหมุนเวียนเรียนจนครบทุกศูนย์  และครูจะเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในการสอนพร้อมการสรุปและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

จุดมุ่งหมายของวิธีสอนโดยใช้ศูนย์การเรียน
เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง
1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
2. เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม รู้จักเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น
3. เพื่อฝึกความรับผิดชอบ และการทำกิจกรรมตามความถนัด ความสนใจ และความสามารถ

สรุปได้ว่า วิธีสอนโดยใช้ศูนย์การเรียนมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ มุ่งให้ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ฝึกให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม มีความรับผิดชอบและสามารถปฏิบัติงานภายในกรอบตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ได้

ลักษณะสำคัญของวิธีสอนโดยใช้ศูนย์การเรียน
วิธีสอนโดยใช้ศูนย์การเรียน (Learning Center) เป็นวัตกรรมที่เน้นกิจกรรมการเรียนของผู้เรียน โดยแบ่งบทเรียนออกเป็น 4-6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีสื่อการเรียนที่จัดไว้ในซองหรือในกล่องวางบนโต๊ะ เป็นศูนย์กิจกรรม ซึ่งจะมีกิจกรรม เนื้อหาสาระการเรียนและวัสดุอุปกรณ์แตกต่างกัน ในการสอนวิธีนี้จะแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มตามจำนวนศูนย์กิจกรรม แต่ละกลุ่มมีจำนวน6-8 คน หมุนเวียนกันประกอบกิจกรรมตามศูนย์ต่างๆ ซึ่งจะใช้เวลาแห่งละ 15-20 นาที จนกว่าจะครบทุกศูนย์ ตัวอย่างของการจัดห้องเรียนแบบศูนย์การเรียนแสดงไว้ในภาพ


องค์ประกอบของวิธีสอนโดยใช้ศูนย์การเรียน
 1. บทบาทของผู้สอน   การสอนแบบศูนย์การเรียน แม้ว่าผู้สอนได้ลดบทบาทในการสอนลงไปมากแล้วก็ตาม แต่การสอนแบบศูนย์การเรียนจุขาดประสิทธิภาพไปถ้าขาดผู้สอนบทบาทของผู้สอนในการสอนแบบศูนย์การเรียน มีดังนี้
        1.1 เป็นผู้กำกับการเรียนรู้

                     1.2 เป็นผู้ประสานงานกิจกรรมการเรียน

                     1.3 บันทึกการพัฒนาของผู้เรียนแต่ละคน

                     1.4 เป็นผู้เตรียมกิจกรรมและสื่อสารสอนเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป

           
2. บทบาทของผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน ดังนั้นจึงมีความสำคัญมากบทบาทที่ถูกต้องของผู้เรียนจะทำให้การสอนแบบศูนย์การเรียนมีประสิทธิภาพ และมีผลลัพธ์ที่น่าพอใจ บทบาทและหน้าที่ของผู้เรียน มีดังนี้

                     2.1 ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อปฏิบัติในการเรียนแบบศูนย์การเรียน

                     2.2 ปฏิบัติกิจกรรมตามคำสั่งที่ได้รับจากศูนย์การเรียนแต่ละศูนย์อย่างเคร่งครัดศึกษาให้ครบทุกศูนย์กิจกรรม

                     2.3  ให้ความร่วมมือกับกลุ่มในการประกอบกิจกรรม รวมทั้งการเป็นผู้นำหรือผู้ตามที่ดีด้วย






 ศูนย์การเรียนรู้

       ศูนย์การเรียนรู้ หมายถึง การจัดพื้นที่การเรียนทางกายภาพเพื่อให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนด้วยตนเองเป็นรายบุคคลหรือผู้เรียนในกลุ่มเล็ก ตามงานที่โปรแกรมกำหนดให้ โดยจัดเป็นคูหาหรือโต๊ะ และมีสื่อการเรียนในรูปแบบสื่อประสม  ช่วยในการเรียนรู้โดยมีครูผู้สอนคอยแนะนำ
       ลักษณะของศูนย์การเรียนรู้มีพื้นฐานจากแนวคิดการศึกษาระบบเปิดในช่วงทศวรรษ 1960s ถึง 1970s โดยการจัดพื้นฐานการเรียนให้ผู้เรียนมีโอกาสควบคุมการเรียน เพิ่มขึ้น เพื่อส่งเสริมการทำกิจกรรมด้วยตนเองหรือโดยกลุ่ม จะจัดโดยแบ่งกลุ่ม ตามที่ได้รับมอบหมาย การจัดพื้นที่นี้สามารถจัดภายในห้องเรียนในห้องปฏิบัติการ จะจัดโดยแบ่งออกเป็น 4-6 ศูนย์ ภายในห้องหรือศูนย์เดียวกลางห้องหรือมุมใดมุมหนึ่งของห้องหรือแม้แต่ระเบียบทางเดินก็ทำได้แต่ต้องสามารถกำจัดเสียงรบกวนต่าง ๆ ได้ หรือจัดไว้ในห้องสมุด  แต่ละศูนย์จะจัดในลักษณะเป็นโต๊ะ 1 ตัว และมีเก้าอี้อยู่โดยรอบเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียน อภิปราย วิจัย แก้ปัญหา หรือทดลองร่วมกัน หรืออาจจัดโต๊ะคอมพิวเตอร์ที่ต่อเป็น เครือข่ายหรือในลักษณะที่สามารถทำกิจกรรมคนเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็กได้ นอกจากนี้ยังจัดในลักษณะเป็นคูหาเพื่อกำจัดเสียงรบกวนในขณะเรียนหรือทำกิจกรรมจากศูนย์ใกล้เคียง หรือเสียงรบกวนอื่น ที่จะทำให้เสียสมาธิในการเรียน คูหายังแบ่งได้เป็น 2   ประเภท คือ คูหาแห้ง (Dry Carrel) และ คูหาเปียก (Wet Carrel) คูหาแห้งจะประกอบด้วยสื่อการเรียนที่ไม่มีวัสดุอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ ส่วนคูหาเปียกจะประกอบด้วยสื่อการเรียนที่เป็นวัสดุอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ เช่น  เทปเสียง ทีวีมอนิเตอร์ เครื่องเล่นแถบวีดีทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สื่อการเรียนที่ประจำในแต่ละศูนย์จะอยู่ในรูปแบบสื่อประสมที่แยกตามกิจกรรม หรือเป็นชุดการเรียนก็ได้
       ในการเรียนที่แต่ละศูนย์แยกตามกิจกรรมการเรียนออกจากกัน ผู้เรียนที่แบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละ
กลุ่มต้องเรียนให้ครบทุกศูนย์ ส่วนศูนย์การเรียนรู้ที่จัดทุกกิจกรรมไว้ในศูนย์เดียว แต่ละกลุ่มต้องเปลี่ยน
กันเข้าไปเรียน

ข้อดีของศูนย์การเรียนรู้
       
      1. เรียนตามอัตราการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนหรือภายในกลุ่ม (Self-Pacing) ศูนย์การเรียนรู้
ช่วยให้ผู้เรียนเรียนตามความต้องการความสามารถของแต่ละคนหรือผู้เรียนภายในกลุ่ม
       2. เรียนรู้อย่างกระฉับกระเฉง (Active Learning) ศูนย์การเรียนรู้ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมใน
ประสบการณ์การเรียน การตอบสนอง และให้ผลย้อนกลับทันที
       3. บทบาทของผู้สอน (Teacher Role) ศูนย์การเรียนรู้จะเปลี่ยนบทบาทของผู้สอนมาเป็น
ผู้แนะนำและคอยช่วยเหลือการเรียนมากขึ้น
       4. กระบวนการกลุ่ม (Group Process) ส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม ภาวะเป็นผู้นำยอมรับฟัง
ความคิดเห็นผู้อื่น มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม


ข้อจำกัดของศูนย์การเรียนรู้
        1. ต้นทุนมาก (Cost) การวางแผน การจัดสร้างศูนย์ การรวบรวมและการจัดวัสดุต้องใช้เวลา
มาก รวมทั้งการซื้อวัสดุอุปกรณ์การออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนที่จะนำมาใช้ในศูนย์ก็ต้องใช้
เงินจำนวนมาก
        2. การจัดการ (Management) ผู้สอนที่จัดการศูนย์การเรียนรู้ต้องมีการจัดระบบและการจัดการ
ห้องเรียนที่ดี


การประยุกต์ใช้ศูนย์การเรียนรู้
       
 1. ศูนย์การเรียนสามารถนำไปใช้กับทุกระดับการศึกษา ทุกรายวิชา
        2. ศูนย์ฝึกทักษะ (Skill Centers) ศูนย์นี้ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะเพิ่มขึ้น โดยได้รับการสอนจาก
บทเรียนผ่านสื่อหรือวิธีการอื่นมาก่อน ทักษะพื้นฐานจะทำให้ฝึกและปฏิบัติในศูนย์จนทำให้มี
ความชำนาญด้วยตัวผู้เรียนเอง
        3. ศูนย์ความสนใจ (Interest Centers) เป็นศูนย์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจ
ใหม่ๆ และให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
        4. ศูนย์สอนเสริม  (Remedial Centers) เป็นศูนย์ที่จะช่วยผู้เรียนที่ต้องการช่วยเสริมความรู้
หรือทักษะที่ยังไม่เพียงพอจากการเรียนปกติ หรือแยกผู้เรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
        5. ศูนย์เพิ่มพูนความรู้ (Enrichment Centers) ศูนย์นี้จะกระตุ้นประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่มขึ้น
หลังจากที่ผู้เรียน ได้เรียนหรือทำกิจกรรมบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้แล้ว เช่น ผู้เรียนที่มีความสามารถ
สูงเรียนบทเรียนคณิตศาสตร์จบแล้ว แต่ยังมีเวลาให้ไปเรียนในศูนย์นั้นที่มีบทเรียนยากเพิ่มขึ้น หรอ
มีกิจกรรมอื่นให้ทำเพิ่มความชำนาญ หรืออาจจะเป็นศูนย์ที่มีคอมพิวเตอร์ที่มีเกมทางคณิตศาสตร์
        6. ศูนย์สำรอง (Reserved Centers) อาจจะมีศูนย์สำรองไว้ในกรณีที่มีศูนย์แยกกิจกรรม เมื่อ
ผู้เรียนทำกิจกรรมในศูนย์ใดเสร็จแล้วจะเข้าไปทำกิจกรรมในศูนย์อื่น แต่ศูนย์นั้นยังไม่ว่างเนื่องจาก
ผู้เรียนในศูนย์นั้นยังทำกิจกรรมไม่เสร็จ ก็ให้มารอในศูนย์สำรองนี้โดยมีกิจกรรม ที่สอดคล้อง
กับเรื่องที่ศึกษาเตรียมไว้อาจเป็นกิจกรรมในลักษณะผ่อนคลาย ซึ่งจะทำให้ไม่ว่างในขณะ ที่รอหรือ
รบกวนผู้ที่กำลังทำกิจกรรมในศูนย์อื่น





วิธีสอนแบบศูนย์การเรียน

ความหมาย
                ศูนย์การเรียนรู้เป็นวิธีการสอนที่เน้นความสำคัญของนักเรียนหรือยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางและใช้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่ใช้สื่อประสม(Mulit Media Approach)และกระบวนการกลุ่ม
( Group Process) เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อส่งเสริมให้การเรียนการสอนมีชีวิตชีวา ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้และพัฒนาสติปัญญาจากการกระทำกิจกรรม  และการศึกษาด้วยตนเอง  โดยแต่ละศูนย์จะมีชุดการเรียนการสอนให้นักเรียนแต้ละกลุ่มได้หมุนเวียนจนครบทุกศูนย์ ( กรมวิชาการ. 2527 : 214)

ความมุ่งหมาย
1.        เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
2.     เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม  รู้จักเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น
3.        เพื่อฝึกความรับผิดชอบ  และทำกิจกรรมตามความถนัด  ความสนใจ และความสามารถของตน

องค์ประกอบของศูนย์การเรียน
                ศูนย์การเรียนมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1.        บทบาทของผู้สอน
2.        บทบาทของผู้เรียน
3.        จุดการสอน                                                                                                                           
4.        การจัดห้องเรียน




สาระสำคัญของแต่ละองค์ประกอบ มีดังนี้

1. บทบาทของผู้สอน  การสอนแบบการเรียน   แม้ว่าผู้สอนได้ลดบทบาทในการสอนลงไปแล้วก็ตาม  แต่การสอนแบบศูนย์การเรียนจะขาดประสิทธิภาพไปถ้าขาดผู้สอนบทบาทของผู้สอนในการสอนแบบศูนย์การเรียน  มีดังนี้
1.1 เป็นผู้กำกับการเรียนรู้
1.2 เป็นผู้ประสานงานกิจกรรมการเรียน
1.3 บันทึกการพัฒนาของผู้เรียนแต่ละคน
1.4 เป็นผู้เตรียมกิจกรรมและสื่อการสอนเพิ่มเติม  เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป

2. บทบาทของผู้เรียน  เนื่องจากผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน  ดังนั้น จึงมีความสำคัญมาก  บทบาทที่ถูกต้องของผู้เรียนจะทำให้การสอนแบบศูนย์การเรียนมีประสิทธิภาพ  และมีผลลัพธ์ที่น่าพอใจ บทบาทและหน้าที่ของผู้เรียน  มีดังนี้
2.1 ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อปฏิบัติในการเรียนแบบศูนย์การเรียน
2.2 ปฏิบัติกิจกรรมตามคำสั่งที่ได้รับจากศูนย์การเรียนแต่ละศูนย์อย่างเคร่งครัด
2.3 การศึกษาให้ครบทุกศูนย์กิจกรรม
2.4 ให้ความร่วมมือกับกลุ่มในการประกอบกิจกรรม  รวมทั้งการเป็นผู้นำหรือผู้ตามที่ดีด้วย

3.   ชุดการสอน  ในการสอนแบบศูนย์การเรียน ชุดการสอนถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ชุดการสอนจะเสนอเนื้อหาสาระในรูปของสื่อประสม ซึ่งประกอบด้วยวัสดุอุปกรณ์ แลกะวิธีการ ชุดการสอนแต่ละชุดจะประกอบด้วย
                3.1 คู่มือครู
                3.2 แบบฝึกปฏิบัติสำหรับผู้เรียน
                3.3 สื่อสำหรับศูนย์กิจกรรม
                3.4 แบบทดสอบสำหรับการประเมินผล

4. การจัดห้องเรียน  การจัดห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน จัดแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ตามกลุ่มกิจกรรมที่ระบุไว้ในชุดการสอน  การจัดกลุ่มกิจกรรมอาจแยกได้ 2 ประเภท  คือ
                4.1 จัดเป็นกลุ่มสำหรับให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมตามปกติ โดยวิธีการดังกล่าวก็อาจจัดง่าย ๆ โดยการจัดเก้าอี้ 4-6 ตัว  มารวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า ศูนย์กิจกรรม โดยนิยมจัดไว้กลางห้อง
                4.2 จัดกลุ่มตามความสนใจ จัดตามกลุ่มวิชาโดยจัดให้โต๊ะและเก้าอี้เป็นกลุ่มๆ   วางเข้าชิดผนัง
                นอกจากนั้น  ผู้สอนอาจตกแต่งห้องเรียนเพื่อเสริมบรรยากาศของการเรียนรู้ เช่นมีป้ายนิเทศ  มีรูปภาพติดที่ผนังห้อง   เป็นต้น


ขั้นตอนวิธีสอนแบบศูนย์การเรียน  สรุปได้ดังนี้



ขั้นตอนการสร้างชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน  สรุปได้ดังนี้

1.        เลือกเรื่องที่จะสอน  แล้วแบ่งเป็นหัวเรื่องย่อยประมาณ 4-6 หัวเรื่อง
2.        กำหนดมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดของแต่ละหัวข้อเรื่อง
3.        กำหนดจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม
4.        กำหนดกิจกรรมการเรียนโดยให้สอดคล้องกับหัวข้อเรื่องของชุดการสอน
5.        กำหนดสื่อการสอน สื่อการสอนที่จะใช้ควรเป็นสื่อที่มีราคาถูกและสามารถผลิตเองได้
เช่น บัตรคำสั่ง  บัตรเนื้อหา บัตรคำ บัตรคำถาม บัตรภาพ กระดาษคำตอบเกมต่าง ๆ บทเรียนโปรแกรม เป็นต้น
6.        เตรียมข้อสอบที่จะใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน  ออกข้อสอบให้สามารถวัดได้ตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ ควรเป็นข้อสอบแบบปรนัย


ตัวอย่างศูนย์การเรียนรู้
·       KCC ศูนย์การเรียนรู้เมืองฉะเชิงเทรา

·       ศูนย์การเรียนรู้ กองทัพภาคที่ ๔

·       ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น